วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
 
 
 
 จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น “ขาประจำ”






Netiquette คืออะไร

 
Netiquette เป็นคำที่มาจาก “network etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก
 
 
 
 
 
 
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
 
ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
• Remember the Human
กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
• Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
• Know where you are in cyberspace
กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
• Respect other people's time and bandwidth
กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
• Make yourself look good online
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
• Share expert knowledge
กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
• Help keep flame wars under control
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
• Respect other people's privacy
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
• Don't abuse your power
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
• Be forgiving of other people's mistakes
กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

การใช้งาน VPN กับ SWU

การใช้งาน VPN กับ SWUปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าใช้ได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมทั้งประสิทธิภาพการสื่อสารที่รวดเร็วขึ้นแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง เช่น ระบบ ADSL ที่ให้ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูง ขณะที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ซึ่งส่งผลให้ระบบ Dial-up ได้รับความนิยมน้อยลงตามลำดับ (การเชื่อมต่อด้วย MODEM มีข้อจำกัดด้านความเร็วการสื่อสาร และการเชื่อมต่อที่ไม่เสถียรภาพ) นอกจากประสิทธิภาพด้านความเร็วแล้วระบบ ADSL ยังรอบรับการสื่อสารหลายรูปแบบ เช่น ช้อมูล ภาพ เสียง ไฟล์วิดีโอ รวมทั้งเกมส์ออนไลน์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
ระบบ Dial-up ของมหาวิทยาลัยที่รองรับความเร็วการสื่อสารข้อมูล 56 kbps ถูกผลกระทบของระบบ ADSL เช่นเดียวกัน ทั้งอาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนิสิต ได้เปลี่ยนไปใช้ระบบ ADSL เป็นจำนวนมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยก็ไม่ปิดกั้นการใช้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายอื่น แต่พบปัญหาเมื่อผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใช้ระบบงานภายใน (Intranet) ของมหาวิทยาลัยได้ เพราะการเชื่อมต่อกับไอเอสพีที่ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถเข้าสู่เครือข่าย Intranet ได้ อย่างเช่นระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิจัย Thailis เป็นต้น ทำให้ต้องเพิ่มการบริการนอกเหนือจาก Dial-up ด้วยการเชื่อมต่อด้วยระบบ VPN ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อด้วยไอเอสพีรายใดก็ได้ และสามารถเข้าใช้ระบบงาน Intranet ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างปกติ

ระบบ VPN ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ระบบงานภายในของมหาวิทยาลัยได้ เช่นระบบ HURIS, SUPREME2004, Thailis, FTP File, WSUS, SWU Antivirus และ Remote PC ระบบ VPN นอกจากรองรับการเข้าใช้งานของผู้ใช้แล้ว บางบริการยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานจากที่บ้านหรือทุกที่ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพื่อเข้ามาปรับปรุงหรือแก้ไขงานภายในมหาวิทยาลัยได้ทันที




ระบบ VPN รองรับงานใน SWUบริการต่อไปนี้เป็นระบบงานที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนภายในมหาวิทยาลัย แต่หากเชื่อมต่อด้วย VPN จะช่วยให้สามารถใช้งานจากที่ใดก็ได้ที่เชื่อมต่อเข้า VPN จึงขอไม่อธิบายถึงวิธีการใช้งานของแต่ละระบบงานโดยละเอียด แต่จะอธิบายพอสังเขปดังนี้
1. ระบบ HURIS การเข้าใช้ระบบงานจะทำได้เฉพาะภายในเครือข่ายบัวศรีเท่านั้น โดยสามารถเข้าใช้ระบบงานได้ที่ http://huris.swu.ac.th แต่หากใช้บริการ ISP รายอื่น ผู้ใช้จำเป็นต้องต่อผ่านระบบ VPN เท่านั้นจึงจะสามารถใช้งานระบบ HURIS ได้
2. ระบบ SUPREME2004 การใช้งานเช่นเดียวกับระบบ HURIS แต่จะมีส่วนของ Client Server เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องติดตั้ง SUPREME2004 Client ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบงานนี้สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://supreme.swu.ac.th
3. ระบบ Thailis เพื่อสืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัย สามารถเข้าระบบได้ที่ http://lib.swu.ac.th
4. ระบบ FTP File ช่วยให้ผู้จัดทำเว็บไซต์ของแต่ละ คณะ สถาบัน สำนัก สามารถปรับปรุงเว็บเพจและอัพโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์ได้ทันทีจากทุกที่ที่เชื่อมต่อด้วย VPN
5. ระบบ WSUS ช่วยให้ระบบปฏิบัติการได้รับการปิดช่องโหว่ เป็นการป้องกันการติดไวรัส หรือการถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้ ซึ่งหากเครื่องที่บ้านหรือโน๊ตบุ๊คที่ติดตัวอยู่เสมอต้องการใช้ระบบ WSUS สามารถเข้าได้ที่ http://www.swu.ac.th
6. ระบบ SWU Antivirus ผู้ใช้สามารถติดตั้งระบบป้องกันไวรัสของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งสำนักคอมพิวเตอร์จะทำการอัพเดทฐานข้อมูลกำจัดไวรัสให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อด้วย VPN อัตโนมัติ สามารถเข้าใช้บริการได้ที่ http://v-clean.swu.ac.th
7. ระบบ Remote PC ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โต๊ะทำงาน เพื่อปรับปรุงงานหรือทำงานต่อให้เสร็จ หรือส่งไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพื่อน โดยตัวอยู่ใช้อยู่ที่บ้านหรือที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ โดยสามารถใช้โปรแกรม Remote Desktop ซึ่งไม่ต้องหาโปรแกรมอื่นเสริม





รูปแบบ VPN ของ SWUบริการ VPN ของมหาวิทยาลัยเป็นแบบ Remote access VPN ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอล SSL เป็นรูปแบบการเข้าถึงเครือข่าย VPN ผ่านเครือข่ายสาธารณะด้วยซอฟต์แวร์ VPN Client (ผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ VPN Client บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ VPN ก่อน) ซึ่งการเข้าถึงเครือข่าย VPN ทำได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของไอเอสพี (ISP) เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล เช่น ADSL, Metro LAN, Leased line, Network IP เป็นต้น และเชื่อมต่อเครือข่าย VPN ด้วยซอฟต์แวร์ VPN Client และลักษณะที่สองเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Dial-up เช่น ผู้ใช้หมุนโมเด็ม (MODEM) ติดต่อไปยังไอเอสพี และเชื่อมต่อเครือข่าย VPN ด้วยซอฟต์แวร์ VPN Client หลังจากการเชื่อมต่อสำเร็จเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้ไอพีแอดเดรสของเครือข่าย VPN และได้รับความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสข้อมูล

พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น




เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรม
ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่
กิจกรรมการผลิต
 การกระจายสินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ
กิจกรรม ทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน
เพราะเราต่างก็คือผู้ผลิต
และ/หรือ ผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่อยู่ไกลตัว
 หากเราได้ศึกษาและ
ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ไปตามลำดับขั้น
\ ก็ย่อมจะเกิดความเข้าใจในสาขาวิชานี้ได้ไม่ยากนัก
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็น
ลำดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆ
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สำหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
(Economics)
 ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน
อาทิ
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้กล่าวถึงความหมาย
 ของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics
 ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยว
กับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้งระดับบุคคลและสังคม
 ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เพื่อการดำรงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน
 ได้ให้คำนิยาม
วิชาเศรษฐศาสตร์ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์และ
สังคมจะโดยใช้เงินหรือ
ไม่ก็ตาม
ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้า
และบริการ
และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้นไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ
ในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคำนิยามที่ได้รับความนิยม
ได้แก่คำนิยาม
ของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ
An Essay o­n the Nature and Significance
 of Economic Science ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่
จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
ประยูร เถลิงศรี ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่า
วิชาเศรษฐศาสตร์
เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือกตัดสินใจอย่างไร
ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ
และแบ่งปันสิ่งของ
และบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม
 ทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็น
วิชาที่ศึกษาในเรื่อง
ที่เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทำการผลิตสินค้า
และบริการเพื่อสนองหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่า
เศรษฐศาสตร์ไว้
 อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึง
วิธีการจัดสรรทรัพยากร
อันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนอง
ความต้องการของมนุษย์ซึ่ง
โดยทั่วไปมีความต้องการไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยแทรกอยู่ในข้อเขียน
และหนังสือสอน
ศาสนาของนักปราชญ์ในสมัยนั้น เช่น หลักปรัชญาของโซเครตีส (Socrates)
 เพลโต (Plato) ฯลฯ
 แต่แนวความคิดดังกล่าวยังไม่ถือเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15
 ซึ่งเป็นสมัยที่การค้าทางยุโรปเจริญรุ่งเรืองมาก
ได้เกิดลัทธิพาณิชย์นิยม (mercantilism)
หรือพวกที่นิยมการทำการค้า นักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อประเทศนั้นๆขายสินค้าขาออกให้ต่างประเทศ
เป็นมูลค่ามากกว่าการซื้อสินค้าขาเข้า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
คือเศรษฐกิจของประเทศจะมั่นคง
ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีดุลการค้าที่เกินดุล ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการที่ประเทศ
มีดุลการค้าเกินดุล
ทำให้มีทองคำและเงินตราไหลเข้าประเทศมากๆจะเป็นการส่งเสริม
การจ้างงานภายในประเทศ
เนื่องจากเมื่อประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนมากจะทำให้การค้าเจริญ
เมื่อการค้าเจริญการผลิตย่อมเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน
เพิ่มขึ้นในที่สุด
 ประชาชนจะมีความอยู่ดีกินดีเนื่องจากมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น
 นอกจากนี้
 นักพาณิชย์นิยมยังมีความเชื่อว่าการที่ประเทศจะมั่งคั่งคือมี
ดุลการค้าที่เกินดุลนั้น
 รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 โดยเฉพาะในด้านการค้ากับต่างประเทศ กล่าวคือ
รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการส่งออกให้มาก
พร้อมกับให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการค้าและนโยบายด้านเศรษฐกิจอื่น
ดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
กล่าวโดยสรุป แนวความคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมไม่สนับสนุนแนวความคิด
ของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี



เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ
 คือ
    เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรม
    ทางเศรษฐกิจ
ของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรม
การบริโภคของ
ผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้า
และบริการอย่างไร
จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัด
ของรายได้จำนวนหนึ่ง
 พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรม
หนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร
 และจะกำหนดราคาเท่าไร
 จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ
 และทรัพยากร
 อื่นๆ
 จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยว
กับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียก
วิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า
 ทฤษฎีราคา (Price Theory)



เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ
การบริโภค
การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงิน
และการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุม
หัวข้อต่างๆ
 เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา
การคลังและหนี้สาธารณะ
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน
และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ