วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น




เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรม
ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่
กิจกรรมการผลิต
 การกระจายสินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ
กิจกรรม ทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน
เพราะเราต่างก็คือผู้ผลิต
และ/หรือ ผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่อยู่ไกลตัว
 หากเราได้ศึกษาและ
ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ไปตามลำดับขั้น
\ ก็ย่อมจะเกิดความเข้าใจในสาขาวิชานี้ได้ไม่ยากนัก
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไปก่อนที่จะศึกษาอะไร สิ่งที่ผู้ศึกษาควรจะต้องทราบเป็น
ลำดับแรกก็คือสาขาวิชานั้นๆ
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด สำหรับการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
(Economics)
 ก็เช่นเดียวกัน มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน
อาทิ
อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้กล่าวถึงความหมาย
 ของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้ในหนังสือ Principle of Economics
 ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยว
กับพฤติกรรม ของมนุษย์ทั้งระดับบุคคลและสังคม
 ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เพื่อการดำรงชีพให้ได้รับความสุขสมบูรณ์
พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน
 ได้ให้คำนิยาม
วิชาเศรษฐศาสตร์ว่าคือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์และ
สังคมจะโดยใช้เงินหรือ
ไม่ก็ตาม
ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้า
และบริการ
และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า และบริการเหล่านั้นไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ
ในสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ส่วนคำนิยามที่ได้รับความนิยม
ได้แก่คำนิยาม
ของไลโอเนล รอบบินส์ (Lionel Robbins) ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ
An Essay o­n the Nature and Significance
 of Economic Science ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่
จะใช้ปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
ประยูร เถลิงศรี ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ ว่า
วิชาเศรษฐศาสตร์
เป็นวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาว่ามนุษย์เลือกตัดสินใจอย่างไร
ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสิ่งของและบริการ
และแบ่งปันสิ่งของ
และบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภคและบริโภคระหว่างบุคคล ต่างๆในสังคม
 ทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคต
มนูญ พาหิระ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ ทฤษฎีราคา ว่าเศรษฐศาสตร์เป็น
วิชาที่ศึกษาในเรื่อง
ที่เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาทำการผลิตสินค้า
และบริการเพื่อสนองหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่า
เศรษฐศาสตร์ไว้
 อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึง
วิธีการจัดสรรทรัพยากร
อันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนอง
ความต้องการของมนุษย์ซึ่ง
โดยทั่วไปมีความต้องการไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยแทรกอยู่ในข้อเขียน
และหนังสือสอน
ศาสนาของนักปราชญ์ในสมัยนั้น เช่น หลักปรัชญาของโซเครตีส (Socrates)
 เพลโต (Plato) ฯลฯ
 แต่แนวความคิดดังกล่าวยังไม่ถือเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15
 ซึ่งเป็นสมัยที่การค้าทางยุโรปเจริญรุ่งเรืองมาก
ได้เกิดลัทธิพาณิชย์นิยม (mercantilism)
หรือพวกที่นิยมการทำการค้า นักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อประเทศนั้นๆขายสินค้าขาออกให้ต่างประเทศ
เป็นมูลค่ามากกว่าการซื้อสินค้าขาเข้า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
คือเศรษฐกิจของประเทศจะมั่นคง
ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีดุลการค้าที่เกินดุล ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการที่ประเทศ
มีดุลการค้าเกินดุล
ทำให้มีทองคำและเงินตราไหลเข้าประเทศมากๆจะเป็นการส่งเสริม
การจ้างงานภายในประเทศ
เนื่องจากเมื่อประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนมากจะทำให้การค้าเจริญ
เมื่อการค้าเจริญการผลิตย่อมเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน
เพิ่มขึ้นในที่สุด
 ประชาชนจะมีความอยู่ดีกินดีเนื่องจากมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น
 นอกจากนี้
 นักพาณิชย์นิยมยังมีความเชื่อว่าการที่ประเทศจะมั่งคั่งคือมี
ดุลการค้าที่เกินดุลนั้น
 รัฐจะต้องเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 โดยเฉพาะในด้านการค้ากับต่างประเทศ กล่าวคือ
รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการส่งออกให้มาก
พร้อมกับให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการค้าและนโยบายด้านเศรษฐกิจอื่น
ดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
กล่าวโดยสรุป แนวความคิดของลัทธิพาณิชย์นิยมไม่สนับสนุนแนวความคิด
ของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี



เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ
 คือ
    เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรม
    ทางเศรษฐกิจ
ของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรม
การบริโภคของ
ผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้า
และบริการอย่างไร
จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัด
ของรายได้จำนวนหนึ่ง
 พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรม
หนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร
 และจะกำหนดราคาเท่าไร
 จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ
 และทรัพยากร
 อื่นๆ
 จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยว
กับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียก
วิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า
 ทฤษฎีราคา (Price Theory)



เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ
การบริโภค
การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงิน
และการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุม
หัวข้อต่างๆ
 เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา
การคลังและหนี้สาธารณะ
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน
และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ
 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น